วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2554

EXCURSIONS @ BACC :D

   โปรแกรมนี้ต้องการให้นิสิตไปทัศนศึกษา เพื่อวิเคราะห์ชิ้นงานศิลปะ หรือผลงานออกแบบนิเทศศิลป์ หรือผลงานออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน หรืองานสถาปัตยกรรม เพื่อทำการนำเสนอข้อมูล โดยสรุปผลการวิเคราะห์ การจัดองค์ประกอบ ทฤษฎีสี การสื่อความหมาย รูปร่าง รูปทรง และที่ว่าง การออกแบบแสง นำเสนอผลงานในชั้นเรียน

ให้เลือกสถานที่ทัศนศึกษาด้วยตัวเอง คือ
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC)
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC)
พิพิธภัณฑ์วีอาร์ คิง พาวเวอร์คอมเพล็กซ์ (VR Museum)

 

สถานที่ทัศนศึกษา : หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

ผลงานที่เราเลือกคือ...


 



การสร้างสรรค์งานนามธรรมจากรูปทรงมนุษย์ (Human Figure Form)
     การศึกษาศิลปะจากธรรมชาติและงานแบบเหมือนจริง (Realistic) จากการปั้นรูปตามต้นแบบรูปทรงมนุษย์
เป็นการศึกษาประติมากรรมขั้นพื้นฐานตามหลักสูตรการเรียนการสอนของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ผู้ซึ่งวาง
รากฐานการศึกษาศิลปะสมัยใหม่ให้กับประเทศไทย เมื่อประติมากรต้องการสร้างสรรค์งานในรูปแบบนามธรรม
ก็มักเริ่มต้นจากรูปทรงมนุษย์ซึ่งเป็นรูปทรงพื้นฐานเพื่อที่จะนำประติมากรไปสู่การสร้างสรรค์รูปทรงในรูปแบบ
อื่นๆ ต่อไป ในระยะแรกของการสร้างสรรค์งานนามธรรม รูปแบบของผลงานที่ปรากฏส่วนใหญ่จึงเป็นการสร้าง
รูปคนแนวใหม่จากวิธีการลดทอน
    ผลงานประติมากรรม กลุ่ม (2508) ของ ชำเรือง วิเชียรเขตต์  เริ่มต้นจากการสร้างรูปทรงมนุษย์สามสี่คนยืน
เกาะกลุ่มกัน


     เสียดายที่ตัวงานเราไม่ได้คืนล่ะ  สงสัยว่าน่าจะอยู่ที่สตูดิโอที่คณะ
ไม่ก็คงถูกทำลายทิ้งไปเเล้ว...เสียดายมากๆ ถ้าหางานเจอจะเอามาลงนะ :)

          

Program 6.1 { รูปทรงและที่ว่างแห่งอิริยาบท }

 

   โปรแกรมที่ 6.1ให้จัดกลุ่มทำงานคู่ เพื่อศึกษาและทดลองถึงคุณสมบััติวัสดุ ถึงศักยภาพและขีดจำกัด เพื่อใช้เป็นวัสดุหลักในการสร้างรูปทรงและที่ว่าง 3 มิติ (ที่สามารถคงรูปได้) โดยใช้เทคนิคการขึ้นรูปทรงและที่ว่าง อย่างน้อย 2 ชนิดและอย่างละ 2 เทคนิค
งานนี้เป็นงานคู่  เราได้คู่กับเน  ณัฐยา รุจิรดำรงค์ชัย 
ตรวจงานครั้งที่ 1วัสดุที่เลือกใช้  1 : กระดาษเเกนทิชชู่
คุณสมบัติ       : เป็นแผ่น สามารถม้วนขดได้ในระดับหนึ่ง
ข้อเสีย           : ทำเเล้วเป็นระนาบเดียวไม่สามารถก่อเป็นรูปทรงสามมิติได้
เทคนิค           : ขด เเละใช้กาว


วัสดุที่เลือกใช้  2  : ลวด
คุณสมบัติ       : เป็นเส้น สามารถม้วนหรือพับได้ มีความยืดหยุ่นสูง สามารถคง
               ตัวอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง
ข้อเสีย         :  ไม่เเข็งเเรง เชื่อมกันยาก
เทคนิค         : ม้วน สอด พัน ขด
คำแนะนำจากอาจารย์  อยากให้งานสามารถคงรูปอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง
               เเละไม่ใช้กาว

หลังจากการตรวจงานครั้งเเรก  เราก็ได้ทำการทดลองดังนี้ !!

จากการทดลองของศุภจิต กับณัฐยา จากลวด > ไม้ไอติม > เเกนทิชชู่ หลอด
กระดาษร้อยปอนด์> สายน้ำเกลือ+สีผสมอาหาร >สายออกซิเจน> เชือกฟาง
 >>สันกระดูกงู !!!    เเละเเล้ว  เราก็ได้หาวัสดุที่จะทำงานไฟนอลใหม่คือ
 สันกระดูกงู...ที่เกิดจากความบังเอิญ ของเนที่ไปตัดสันกระดูกงูเล่น เเล้วได้
เห็นลักษณะการเป็นห่วง เป็นวงของมันที่มีความน่าสนใจ

 
อันนี้ลองมาเรียงดู                                                                 ลองเอามาเกี่ยวกันดูบ้าง


กองทัพสันห่วง !!

ตรวจงานครั้งที่2วัสดุที่เลือกใช้   : สันกระดูกงู
เทคนิค      : การเกี่ยว  เเละใช้กาว
บรรยาย :    ติดกาวระหว่างห่วงสีดำ เเล้วเอาห่วงสีขาวมาเกี่ยว


คำแนะนำจากอาจารย์ : วัสดุมันดูโดดจากงานที่เเล้ว(ถึงเเม้วะใช้พวกความโค้ง
ของมันก็ตาม) เเละก็อยากให้งานอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง  เเละอยากให้งานสื่อกลับ
ไปสู่สันกระดูกงูเเบบเเท่ง(เหมือนว่าอยากให้เห็นภาพของกระดูกงูจริงๆ )


ตรวจงานครั้งสุดท้ายวัสดุที่เลือกใช้   : สันกระดูกงู
เทคนิค            : การเกี่ยว การบาก เเละใช้กาว





 การบาก




การเกี่ยว




บรรยาย : เเนวคิดมาจากรูปทรงของใบไม้




คำแนะนำจากอาจารย์ : อ.ได้เเนะนำว่างานยังดูไม่ครอบคลุม ในการเป็น
ที่ว่างสามมิติอีกทั้งการใช้ทั้งเเท่งสันกระดูกงูทำให้งานดูโดดๆ เเละ
กระใช้สีดูลายตา

      งานนี้เป็นการที่ทำค่อนข้างนาน เพราะต้องใช้กาวให้น้อยที่สุด จึงต้อง
ใช้การบากเเทน เเต่ก็ต้องพบอุปสรรคคือพอถึงตรงสูงๆ งานจะพังลงมา
ทันที ;w;  อีกทั้งมันไม่สามารถคงตัวอยู่ได้อีก จึงต้องใช้สันกระดูกงูทั้ง
เเท่งมาดามงานล่ะ =   =





Program 5.2 { Meaning/Open Form/Lighting }

 

   โปรแกรมที่ 5.2 ให้ออกแบบรูปทรงเปิด โดยศึกษาวิเคราะห์จากรูปทรงธรรมชาติและรูปทรงเปิด เพื่อนำไปใช้สอยเป็นโคมไฟ พัฒนาจากงานโปรแกรม 5.1 มาลดทอนรายละเอียด แต่ยังคงสื่อความหมายทั้งด้านนามธรรมและรูปธรรม
สวัสดีค่า...วันนี้เรานำผลงานที่ทำต่อจาก 5.1 มาลงค่ะ :)
เมื่อน้องปักเป้าเป็นโคมไฟ > <

(ตอนเปิดไฟ)

(ตอนไม่เปิดไฟ)

        ยังคงคอนเซปเป็นหกเหลี่ยมเเละมีหนาม เป็นโคมไฟตั้งโต๊ะที่ทำมาจากกระดาษร้อยปอนด์ เเละกระดาษชานอ้อย  โดยจะเจาะช่องหกเหลี่ยมบางช่อง เเละนำบางช่อง ที่เจาะนั้นเอากระดาษไขมาเเปะไว้เพื่อไม่ให้เเสงออกมามากเกินไปค่ะ เเละ ตรงหนามบางหนามจะเจาะ ให้เป็นจังหวะเเบบ 5.1

       งานนี้เราถูกใจในระดับหนึ่ง เเต่หลายๆคนบอกว่ามันเหมือนลูกบอล ไม่ก็ลูกระเบิดล่ะ ;w;

PROGRAM:5.1 Natural from / Meaning & Technique

    รูปทรงธรรมชาติ / ความหมายและเทคนิคการสื่อความหมาย
    (NATURAL FROM / MEANING & TECHNIQUE)



  ให้นิสิตทำความเข้าใจสิ่งมีชีวิต หรือรูปทรงธรรมชาติ 1 ชนิดที่สนใจ แล้วนำมาลดทอนรูป
แบบในส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมด ที่สามารถอ้างอิงคุณสมบัติ หรือเอกลักษณ์สิ่งมีชีวิตนั้นๆ
เพื่อนำไปพัฒนาเป็นผลงาน 3 มิติต่อไป


สิ่งมีชีวิตต้นแบบ : ปลาปักเป้า

ลักษณะทางกายภาพ : ลวดลาย -  มีลายจุดเป็นจังหวะ
               ผิวสัมผัส - ลื่น เเละนิ่ม
               สีสัน  - สีเเหลือง เหลืองน้ำตาล
               ลักษณะเด่น - การพองตัว ลวดลายบนตัว

นิสัย : เมื่อเจอผู้ล่าจะมีลักษณะพองตัวเเละมีหนามเเหลมโดยรอบเพื่อป้องกันตัว

           สวัสดีค่า... ครั่้งนี้เรากลับมาพร้อมกับงานชิ้นใหม่....น้องปักเป้าค่ะ :)
สาเหตุที่เราเลือกปลาปักเป้า คือ....เราชอบมันตอนพองลมมากๆ ดูมีเอกลักษณ์ดี
งานนี้เราต้องลดทอนองค์ประกอบงาน....มาดูผลงานของเราดีกว่าค่
                                                    



     อันนี้มีเเรงบันดาลใจมาจากการพองตัวของปลาปักเป้า โดยเราจะเจาะช่องหกเหลี่ยมให้ เห็นที่ว่างภายใน เพื่อให้เห็นว่าข้างในนั้นมี กล่อง สี่เหลี่ยม เพื่อเเสดงถึง กระเพาะของปักเป้า
     หลักการพองลมของปลาปักเป้าคือมันจะสูบ น้ำ เเละอากาศเข้าไปในตัว เเล้วกระเพาะจะขยาย ตัวปลาจึงพองตัวตามค่า 0o0



  

      อันนี้เราได้ลดรายละเอียดของลวดลายบนตัวปัก จะเห็นว่าลวดลายนั้นเป็นจังหวะค่ะ

    จากการทำงานชิ้นนี้เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับปลาปักเป้ามากขึ้นมากๆ ไม่ว่าเเหล่งที่อยู่
ลักษณะทางกายภาพนอกจากนี้เรายังได้เรียนรู้การลดทอนองค์ประกอบเป็นรูปทรงเรขาคณิตมากขึ้นค่ะ :3


วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2554

PROGRAM:3.2 Color & Modern Art

 
     เพื่อให้นิสิตเข้าใจในเรื่อวทฤษฎีสี การสร้างผลงานศิลปะยุคสมัยต่างๆของศิลปะ
สมัยใหม่ (Modern Art ) โดยใช้เทคนิค IMPRESSIONISM และ CUBISM
และสื่อความหมายเป็นผลงานศิลปะ 2 มิติได้ โดยมีต้นแบบมาจากปฎิบัติการ 2

    จำสถาปนิกต้นเเบบของเราได้มั้ย 555 ...เดี๋ยวเราจะบอกให้นะ


Nicholas   Grimshaw ค่ะ

        เเนวทางศิลปะ  : Cubism
   เเนวความคิด  : การให้รูปทรงหกเหลี่ยมพุ่งออกมา

         เเนวทางศิลปะ : Impressionism
    เเนวความคิด :  นำภาพต้นฉบับมาวาดผสมจินตนาการ

      งานนี้สำหรับเราถือว่าออกมาได้ไม่ดี ทั้งการระบายสี เเละ การจัดองค์ประกอบ อีกที้งเรายังไม่เข้าใจเเนวทางศิลปะ อิมเพรสชั่นนิส เเละ คิวบิสซิ่มซักเท่าไหร่...เเต่ตอนนี้เข้าใจมากขึ้นกว่าเดิมเเล้วค่ะ
   

PROGRAM:3.1 The Meaning of Nature's Colors

สีของสรรพสิ่งในธรรมชาติ THE MEANING OF NATURE'S COLORS

      เพื่อให้นิสิตเข้าใจถึงเรื่อง ทฤษฎีสี เทคนิคน้ำหนักความสว่างของสี(Lightness-color Value)เทคนิคการลดความสดของสี (Saturation-intensity) โดยให้นิสิตออกแบบงานทัศนศิลป์ 2 มิติ เลือกใช้สีตามทฤษฎีโครงสี (Color Scheme) คู่กับเทคนิคน้ำหนักความสว่างของสี (Color Value) หรือเทคนิคการลดความสดของสี (intensity) อย่างใดอย่างหนึ่ง มีลำดับการไล่สี 5 ลำดับเป็นอย่างน้อย



          ภาพนี้มีเเนวความคิดมาจาก ท้องฟ้ายามค่ำคืน เเละเถาวัลย์ เราเลือกใช้ทฤษฎีโครงสีแบบ  Lightness-color value เเละ ทฤษฎีโครงสีเเบบTriadeคือไล่โทนท้องฟ้า เเละ เถาวัลย์ค่ะ 
                

         งานนี้ถือเป็นงานที่ใช้สีครั้งเเเรกเลยล่ะตั้งเเต่อ.ได้สั่งงานมา  ตอนเเรกก็ตื่นเต้นเเละกังวลนิดหน่อย เพราะเราเป็นคนที่ไม่ถูกกับการใช้สีเปียกๆ อย่างรุนเเรง งานจึงออกไม่ดีเท่าที่ควร ก็ต้องค่อยฝึกไป ก็จะพยายามต่อไปค่ะ ..

Program 5.3 { Symbolic Meaning/Three-Dimensional Space/Environment }

 

   โปรแกรมที่ 5.3 ให้ออกแบบที่ว่างสามมิติ จากการทำโมเดลใบงานที่ 5.1 และ 5.2 มาวิเคราะห์ พัฒนารายละเอียด ให้มีลักษณะรูปทรงที่ให้ความรู้สึกถึง ความลื่นไหลมีชีวิตชีวา /การเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง /มีพลวัต หร้อมกำหนดสถานที่หรือสภาพแวดล้อม ภายในพื้นที่โดยรอบคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่คาดว่าจะนำรูปทรงที่สร้างไปติดตั้งได้อย่างเหมาะสมโดยพิจารณาจากประเด็นสำคัญ ดังนี้

1. การศึกษารูปทรงต้นแบบ และการลดทอนรายละเอียดให้มีความเรียบง่าย
2. ขนาดและสัดส่วนที่เหมาะสมของรูปทรงและที่ว่าง
3. ความมั่นคงแข็งแรง และเสถียรภาพของรูปทรงและที่ว่าง
4. เทคนิคการจัดองค์ประกอบของรูปทรงและที่ว่าง
5. การสื่อความหมายเชิงสัญลักษณ์ของรูปทรงและที่ว่าง

งานที่ต้องส่งมีสองชิ้นคือ

1. Sketch Design ลงกระดาษขนาด A3 ด้วยลายเส้นขาว-ดำ
2. หุ่นจำลอง (Model) ปริมาตรวมไม่เกิน 0.30*0.30*0.30 เมตร ประกอบการนำเสนอผลงานด้วยกระดาษสีขาวเท่านั้น


 

      อันนี้เป็นงานสุดท้ายกับน้องปักเป้าเเล้วละ จะว่าไปก็ใจหายนะ
(งานนี้ทำให้หลายๆคนเรียก เราว่าปักเป้าล่ะ ;A;)

 การตรวจเเบบครั้งเเรก


  
การตรวจเเบบครั้งที่สอง




ส่งงาน XD



            บริเวณที่ไว้วางคือหน้าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์(บริเวณที่มีอิฐบล็อก
หกเหลี่ยม)ไว้เป็นที่นั่งรอรถตะไล

  
       งานนี้เกิดจากการนำกระดาษร้อยปอนด์มาตัดเป็นเส้น เส้นละเซนติเมตร
เเล้วนำมาพับเป็นหกเหลี่ยมเป็นขนาดต่างๆ เเล้วนำมาประกอบเป็นรูปทรงที่ได้นำ
เอกลักษณ์เเละลักษณะเด่นของปลาปักเป้ามาใช้ คือการพองลมของมัน 

      งานชิ้นนี้ถือว่าทำได้ตามเเผนการณ์ที่วางไว้  เเละถือว่าทำได้ด้วยดีกว่า
งานเก่าๆ งานนี้สอนให้เรารู้จักคำว่าที่ว่างสามมิติมากขึ้นเเละรู้จักการสร้างงานให้
สัมพันธ์กับสิ่งเเวดล้อมรอบข้าง 

      ต้องขอขอบคุณอ.ประวุฒิ เเละอ.เม่น ที่ให้คำเเนะนำตลอดสามชิ้นงาน
เเละ ขอขอบคุณอ.ทุกท่านที่ให้คำเเนะนำ เเละ เพื่อนทุกๆคนที่ให้คำปรึกษา
อีกทั้งให้ความช่วยเหลือ ขอบคุณมากๆค่ะ :D



PROGRAM:6.2 FINAL PROJECT รูปทรงและที่ว่างแห่งอิริยาบท

 

      โปรแกรมที่ 6.2  ให้นำผลงานจากปฎิบัติการที่ 6.1 มาพัฒนาสร้างเป็นรูปทรง
และที่ว่าง 3 มิติ เพื่อรับรองการใช้งานของมนุษย์ 1 คน ซึ่งสามารถใช้สอยที่ว่าง
ภายในของรูปทรงนั้นได้ด้วยกิริยาท่าทางอย่างน้อย 1 อิริยาบถ โดยจัดทำรูปทรง3มิติ
ตามขนาดวัสดุจริง ย่อขนาดมนุษย์ลงในอัตราส่วน 1:5
    งานนี้เป็นงานที่ต่อจาก 6.1 ที่เรายังไม่สามารถคงรูปงานได้หากไม่ใช้กาว
 เลยลองเป็นการเกี่ยวทั้งหมดเป็นเเพทเทิร์นเเทน เเต่ตรงกลางนี้ยังคงการบากอยู่

งานสุดท้ายเเล้วล่ะสำหรับน้องห่วง...
V
V
V

       อาจาร์ยได้เเนะนำว่า....เรื่องการใช้สีดูลายตาไป เเละชึ้นงานไม่รองรับสรีระมนุษย์
 อีกทั้งหากทำในงานจริง งานอาจจะยวบได้
     
       งานต่อมาเราจึงเปลี่ยนการวางสีเป็นสองส่วงเเทนที่จะผสมกัน
 
เเต่งานมันก็ยังไม่รอรับสรีระอยู่ดี
    

      เราจึงลองกันใหม่ยังคงการเกี่ยวกันเหมือนเดิม เเต่เราได้ค้นพบวิธีใหม่คือ
การเอาห่วงใหญ่เกี่ยว ด้วยห่วงเล็กมันจะเกิดความยืดหยุ่นดัดได้ เเละที่สำคัญ
ที่สุดคอเราไม่ต้องใช้กาว !!! (เย้ !)





อ.เเนะนำว่าบางส่วนนั้นมันเกินความจำเป็นเอาออกได้รึเปล่า 
 เเละก็ยังกังวลกับชิ้นงานจริงว่าจะยวบลงมา


เเละเเล้วก็ถึงไฟนอล  > <

 


  

    สำหรับเรา  งานนี้จบลงได้ดีมากๆ  เราได้เรียนรู้หลายๆอย่าง ได้เรียนรู้คุณสมบัติ
วัสดุอื่นๆที่นอกเหนือกระดาษ (ที่เราทำมาตลอดก่อนหน้างานนี้)  ต้องขอบคุณเน
ที่ร่วมกันฝ่าพันอุปสรรคต่างๆจนงานชิ้นนี้สำเร็จ ขอคุณอ.เม่น อ.ต๋ากับทุกคำ
เเนะนำดีๆ เเละขอบคุณอ.เเละเพื่อนๆ ที่ใหคำเเนะนำเเละคำปรึกษานะคะ :)

วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Design Fundamentals

Analysis of Design elements composition colours




ภาพที่มีลักษณะเป็นระเบียบ (order)


     Chiura Obata (1885–1975) Setting Sun: Sacramento Valley, ca. 1925.
Hanging scroll: mineral pigments (distemper) and gold on silk, 107 1/2 x 69 in. 
Courtesy of Gyo Obata
                                                         
                                 องค์ประกอบในการออกแบบเป็นทฤษฎีพื้นฐานของงานศิลปะได้แก่เส้น (line)
รูปทรง(shape) รูปร่าง(form)ทำให้เกิดอารมณ์ และความรู้สึก เช่น ตื่นเต้น น่าตระหนก
สนุกสนาน การใช้องค์ประกอบภาพนี้คือการใช้เส้นโค้ง (Curves line) ให้ความรู้สึกถึง
ความเคลื่อนไหว ความไม่แน่นอน  และความตื่นเต้น ทำให้ภาพดูไม่หยุดนิ่ง และน่าสนใจ 
ส่วนการใช้สี เป็นการใช้สี Discord คือการใช้สีตรงข้ามแต่ค่าของสี คือ สีส้มกับสีน้ำเงิน โดย
สีส้มกระตุ้นให้เกิดพลังความสนุกสนาน ซึ่งตรงข้ามกับสีน้าเงิน คือความสงบ  แต่จะเห็นว่า
สีส้มมีสัดส่วนที่มากกว่าทำให้เปลวไฟนั้นดูเด่น  ส่วนเทคนิคการจัดองค์ประกอบของภาพนี้
จะเป็นการจัดแบบเป็นจังหวะ จะเห็นได้จาก การซ้ำของเปลวเพลิงเป็นการซ้ำที่เป็นระเบียบ
จากระเบียบธรรมดาที่มีช่วงห่างเท่าๆ กัน มาเป็นระเบียบที่สูงขึ้นซับซ้อนขึ้น  จนถึงขั้นเกิด
เป็นรูปลักษณะของศิลปะ  โดยเกิดจาก การซ้ำของหน่วย หรือการสลับกันของหน่วยกับ
ช่องไฟหรือเกิดจากการเลื่อนไหลต่อเนื่องกันของเส้น สี รูปทรง หรือ น้ำหนัก
               จากการวิเคราะห์ภาพนี้มีลักษณะแบบเป็นระเบียบ (order) เเละภาพนี้ให้ความรู้สึก
ถึงความมีพลังที่เกิด จากการใช้สีส้มในอัตราส่วนที่มากกว่าสีน้ำเงิน และ เกิดความเคลื่อนไหว 
ลื่นไหลตามเปลวไฟที่ค่อยๆมีขนาด เล็กลงตามระยะ


ภาพที่มีลักษณะไร้ระเบียบ (disorder)


               องค์ประกอบของภาพนี้คือเส้นที่ขดๆจำนวนมาก จน แทบไม่เห็นพื้นหลัง ขด 
เป็นจังหวะ(Rhythm) แสดงถึงความยุ่งเหยิง  ไร้ระเบียบ มีความเป็นอิสระ ไม่ตายตัวโดยสี
ของภาพเป็นการใช้สีแบบพหุรงค์ จะมีทั้ง สีโทนร้อนสีโทนเย็นในอัตราส่วนที่เท่าๆกัน
                         ภาพนี้ให้ความรู้สึกไร้ระเบียบอย่างสิ้นเชิง  จากเส้นขดๆอย่างไร้การความคุม 
และสีที่มีหลายสีไม่ว่าจะ เป็นสี แดง น้ำเงิน เขียว เหลือง ชมพู  ม่วง แต่เป็นภาพที่มี
ความสวยงามเป็นเอกลักษณ์



งานกราฟิกดีไซน์


                            จาก ภาพนี้ เป็นโฆษณาผลิตภัณฑ์เเป๊บซี่  จะเห็นได้ว่าผลิตภัณท์นี้จะเน้นไป
ทางสีน้ำเงินเห็นได้ว่าเเป๊บซี่มีการใช้สีที่เด่นชัดเป็นคาเเร็คเตอร์ของตัวเอง  ทำให้เป็นที่สะดุดตาแก่
ผู้พบเห็นซึ่งนี่ถือเป็นข้อดีที่ทำให้ผลิตภัณฑ์ เป็นที่รู้จักอย่างมากในหมู่คนทั้งโลก   รวมถึงการใช้
พื้นหลังเป็นลายหยดน้ำทำให้ผู้ที่ได้เห็นโปสเตอร์นี้จะมีความรู้สึกว่าการดื่มผลิตภัณท์นี้เเล้วรู้สึกว่า
การดื่มผลิตภัณท์นี้เเล้วจะสดชื่น เเละตรงสัญลักษณ์ของผลิตภัณท์มีการใช้สีคู่ตรงข้ามเเละอยู่ใน
บริเวณจุดศูนย์กลางทำให้งานดูโดดเด่น น่าสนใจ 
                     เมื่อเห็นภาพนี้แล้วรู้สึกถึงเอกลักษณ์ของผลิตภัณท์ที่มีความเด่นชัด  สะดุดตา
สวยงาม ทั้งการใช้สี การวางสัญลักษณ์  อีกทั้งยังรู้สึกถึงความสดชื่น เเละน่าดื่มของผลิตภัณท์




                    





วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ปฎิบัติการที่3.3 ; Knowing Some Great Architects : POP UP

......เป็นงานที่ทำให้เราทรุดได้เลยทีเดียว.....

เพราะไรนะหรือ....


นิโคลัส กริมชอร์ หลอกหลอนเราอีกเเล้วววววววววววววว //โหยหวน

ท่าทางคำภาวนาเราไม่ได้ผลล่ะ ;A;    หนูเบื่อ หกเหลี่ยม ครึ่งวงกลมมากๆค่า !!!!!


ช่างมันเถอะ...มาดูผลงานดีกว่า :)



ในตอนเเรกอ.สั่งให้ทำโมเดล เเละ สเก็ตดีไซน์เป็นเเบบงานให้อ. ดูสามชิ้น

เเละหลังจากนั้นอ.ก็ติชมเเละเลือกโมเดลหนึ่งชึ้นให้เป็นต้นเเบบ...




 































เเละอ.ก็ได้เสนอว่าควรจะเป็นpop up ลอยจากเพดาน

ไม่ก็สามารถนั่งถ่ายได้ค่ะ...



.....ต่อไปนี่คือผลงานของกลุ่มเราที่ทำค่ะ...

























...ฉายามันคือ...ซุ้มบอลโลก ๕๕๕

โดยส่วนตัวค่องข้างพอใจกับงานมากๆ  ถ่ายรูปออกมาเเล้วดูดีมากๆ

ปฎิบัติการที่2.3 ; knowing some architect 3

 ...สวัสดียามบ่ายค่าา...ใกล้กำหนดส่งอ.เต็มทีเเล้ว  ต้องรีบปั่นเเล้ว ๕๕๕

งานชิ้นต่อไปที่จะนำเสนอค่อนข้างเเอดวานซ์ขึ้น ไปอีกระดับ  มาชมกันเลย...

คำสั่งของอ.คือ
ชิ้นงานที่ 1 ให้เลือกรูปร่าง ในที่นี้เราเลือก รูปร่างไม่สม่ำเสมอ เเละเลือกเทคนิกการ
จัดองค์ประกอบ เราเลือก ความหนาเเน่น













 
 งานนี้เราเขียนรูปร่างผิดล่ะ ๕๕๕ เลยถูกลดเกรด(ที่มันน้อยอยู่เเล้ว)...เสียใจ



อีกชิ้น เราใช้เทคนิกขัดเเย้ง
















งานสองชิ้นนี้  โดยส่วนตัวยังเเยกเเต่ละรูปร่างเเต่ละเเบบไม่ค่อยเป็น เลย


ทำให้ถูกลดเกรด   เเต่ตอนนี้ก็เริ่มเข้าใจมากขึ้นเเล้วล่ะ ;)

สุดท้าย...ขอภาวนาว่าขอไม่ได้เจอผลงานของนิโคลัส  กริมชอร์อีก....สาธุ !!!

วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ปฎิบัติการที่2.2 ; knowing some architect 2

สวัสดีอีกครั้ง....

สำหรับปฎิบัติการที่ 2.2  มีงานให้ทำสองชิ้นคือ



ชิ้นงานที่ 1 ใช้องค์ประกอบจุด, เส้น และระนาบ สื่อแนวคิดและความหมายของภาพ
มันคือการการมิกซ์เอาดอท ไลน์ เพลน มารวมกัน














ชิ้นงานที่ 2 ใช้การจัดองค์ประกอบเสัน (Line) ประกอบกับเทคนิค
ความหนาแน่น (Concentration)สื่อแนวคิดและความหมายของภาพ















เนื่องจากมีประสบการณ์การทำงานที่เกือบไม่ทันของงานเเรก..

งานนี้เลยค่อนข้างรีบทำอย่างมีสติ (?)  เลยค่อนข้างชิล..

เเต่คะเเนนนั้นไม่ชิลตาม TAT....