วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2554

Program 5.3 { Symbolic Meaning/Three-Dimensional Space/Environment }

 

   โปรแกรมที่ 5.3 ให้ออกแบบที่ว่างสามมิติ จากการทำโมเดลใบงานที่ 5.1 และ 5.2 มาวิเคราะห์ พัฒนารายละเอียด ให้มีลักษณะรูปทรงที่ให้ความรู้สึกถึง ความลื่นไหลมีชีวิตชีวา /การเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง /มีพลวัต หร้อมกำหนดสถานที่หรือสภาพแวดล้อม ภายในพื้นที่โดยรอบคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่คาดว่าจะนำรูปทรงที่สร้างไปติดตั้งได้อย่างเหมาะสมโดยพิจารณาจากประเด็นสำคัญ ดังนี้

1. การศึกษารูปทรงต้นแบบ และการลดทอนรายละเอียดให้มีความเรียบง่าย
2. ขนาดและสัดส่วนที่เหมาะสมของรูปทรงและที่ว่าง
3. ความมั่นคงแข็งแรง และเสถียรภาพของรูปทรงและที่ว่าง
4. เทคนิคการจัดองค์ประกอบของรูปทรงและที่ว่าง
5. การสื่อความหมายเชิงสัญลักษณ์ของรูปทรงและที่ว่าง

งานที่ต้องส่งมีสองชิ้นคือ

1. Sketch Design ลงกระดาษขนาด A3 ด้วยลายเส้นขาว-ดำ
2. หุ่นจำลอง (Model) ปริมาตรวมไม่เกิน 0.30*0.30*0.30 เมตร ประกอบการนำเสนอผลงานด้วยกระดาษสีขาวเท่านั้น


 

      อันนี้เป็นงานสุดท้ายกับน้องปักเป้าเเล้วละ จะว่าไปก็ใจหายนะ
(งานนี้ทำให้หลายๆคนเรียก เราว่าปักเป้าล่ะ ;A;)

 การตรวจเเบบครั้งเเรก


  
การตรวจเเบบครั้งที่สอง




ส่งงาน XD



            บริเวณที่ไว้วางคือหน้าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์(บริเวณที่มีอิฐบล็อก
หกเหลี่ยม)ไว้เป็นที่นั่งรอรถตะไล

  
       งานนี้เกิดจากการนำกระดาษร้อยปอนด์มาตัดเป็นเส้น เส้นละเซนติเมตร
เเล้วนำมาพับเป็นหกเหลี่ยมเป็นขนาดต่างๆ เเล้วนำมาประกอบเป็นรูปทรงที่ได้นำ
เอกลักษณ์เเละลักษณะเด่นของปลาปักเป้ามาใช้ คือการพองลมของมัน 

      งานชิ้นนี้ถือว่าทำได้ตามเเผนการณ์ที่วางไว้  เเละถือว่าทำได้ด้วยดีกว่า
งานเก่าๆ งานนี้สอนให้เรารู้จักคำว่าที่ว่างสามมิติมากขึ้นเเละรู้จักการสร้างงานให้
สัมพันธ์กับสิ่งเเวดล้อมรอบข้าง 

      ต้องขอขอบคุณอ.ประวุฒิ เเละอ.เม่น ที่ให้คำเเนะนำตลอดสามชิ้นงาน
เเละ ขอขอบคุณอ.ทุกท่านที่ให้คำเเนะนำ เเละ เพื่อนทุกๆคนที่ให้คำปรึกษา
อีกทั้งให้ความช่วยเหลือ ขอบคุณมากๆค่ะ :D



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น