วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2554

EXCURSIONS @ BACC :D

   โปรแกรมนี้ต้องการให้นิสิตไปทัศนศึกษา เพื่อวิเคราะห์ชิ้นงานศิลปะ หรือผลงานออกแบบนิเทศศิลป์ หรือผลงานออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน หรืองานสถาปัตยกรรม เพื่อทำการนำเสนอข้อมูล โดยสรุปผลการวิเคราะห์ การจัดองค์ประกอบ ทฤษฎีสี การสื่อความหมาย รูปร่าง รูปทรง และที่ว่าง การออกแบบแสง นำเสนอผลงานในชั้นเรียน

ให้เลือกสถานที่ทัศนศึกษาด้วยตัวเอง คือ
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC)
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC)
พิพิธภัณฑ์วีอาร์ คิง พาวเวอร์คอมเพล็กซ์ (VR Museum)

 

สถานที่ทัศนศึกษา : หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

ผลงานที่เราเลือกคือ...


 



การสร้างสรรค์งานนามธรรมจากรูปทรงมนุษย์ (Human Figure Form)
     การศึกษาศิลปะจากธรรมชาติและงานแบบเหมือนจริง (Realistic) จากการปั้นรูปตามต้นแบบรูปทรงมนุษย์
เป็นการศึกษาประติมากรรมขั้นพื้นฐานตามหลักสูตรการเรียนการสอนของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ผู้ซึ่งวาง
รากฐานการศึกษาศิลปะสมัยใหม่ให้กับประเทศไทย เมื่อประติมากรต้องการสร้างสรรค์งานในรูปแบบนามธรรม
ก็มักเริ่มต้นจากรูปทรงมนุษย์ซึ่งเป็นรูปทรงพื้นฐานเพื่อที่จะนำประติมากรไปสู่การสร้างสรรค์รูปทรงในรูปแบบ
อื่นๆ ต่อไป ในระยะแรกของการสร้างสรรค์งานนามธรรม รูปแบบของผลงานที่ปรากฏส่วนใหญ่จึงเป็นการสร้าง
รูปคนแนวใหม่จากวิธีการลดทอน
    ผลงานประติมากรรม กลุ่ม (2508) ของ ชำเรือง วิเชียรเขตต์  เริ่มต้นจากการสร้างรูปทรงมนุษย์สามสี่คนยืน
เกาะกลุ่มกัน


     เสียดายที่ตัวงานเราไม่ได้คืนล่ะ  สงสัยว่าน่าจะอยู่ที่สตูดิโอที่คณะ
ไม่ก็คงถูกทำลายทิ้งไปเเล้ว...เสียดายมากๆ ถ้าหางานเจอจะเอามาลงนะ :)

          

Program 6.1 { รูปทรงและที่ว่างแห่งอิริยาบท }

 

   โปรแกรมที่ 6.1ให้จัดกลุ่มทำงานคู่ เพื่อศึกษาและทดลองถึงคุณสมบััติวัสดุ ถึงศักยภาพและขีดจำกัด เพื่อใช้เป็นวัสดุหลักในการสร้างรูปทรงและที่ว่าง 3 มิติ (ที่สามารถคงรูปได้) โดยใช้เทคนิคการขึ้นรูปทรงและที่ว่าง อย่างน้อย 2 ชนิดและอย่างละ 2 เทคนิค
งานนี้เป็นงานคู่  เราได้คู่กับเน  ณัฐยา รุจิรดำรงค์ชัย 
ตรวจงานครั้งที่ 1วัสดุที่เลือกใช้  1 : กระดาษเเกนทิชชู่
คุณสมบัติ       : เป็นแผ่น สามารถม้วนขดได้ในระดับหนึ่ง
ข้อเสีย           : ทำเเล้วเป็นระนาบเดียวไม่สามารถก่อเป็นรูปทรงสามมิติได้
เทคนิค           : ขด เเละใช้กาว


วัสดุที่เลือกใช้  2  : ลวด
คุณสมบัติ       : เป็นเส้น สามารถม้วนหรือพับได้ มีความยืดหยุ่นสูง สามารถคง
               ตัวอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง
ข้อเสีย         :  ไม่เเข็งเเรง เชื่อมกันยาก
เทคนิค         : ม้วน สอด พัน ขด
คำแนะนำจากอาจารย์  อยากให้งานสามารถคงรูปอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง
               เเละไม่ใช้กาว

หลังจากการตรวจงานครั้งเเรก  เราก็ได้ทำการทดลองดังนี้ !!

จากการทดลองของศุภจิต กับณัฐยา จากลวด > ไม้ไอติม > เเกนทิชชู่ หลอด
กระดาษร้อยปอนด์> สายน้ำเกลือ+สีผสมอาหาร >สายออกซิเจน> เชือกฟาง
 >>สันกระดูกงู !!!    เเละเเล้ว  เราก็ได้หาวัสดุที่จะทำงานไฟนอลใหม่คือ
 สันกระดูกงู...ที่เกิดจากความบังเอิญ ของเนที่ไปตัดสันกระดูกงูเล่น เเล้วได้
เห็นลักษณะการเป็นห่วง เป็นวงของมันที่มีความน่าสนใจ

 
อันนี้ลองมาเรียงดู                                                                 ลองเอามาเกี่ยวกันดูบ้าง


กองทัพสันห่วง !!

ตรวจงานครั้งที่2วัสดุที่เลือกใช้   : สันกระดูกงู
เทคนิค      : การเกี่ยว  เเละใช้กาว
บรรยาย :    ติดกาวระหว่างห่วงสีดำ เเล้วเอาห่วงสีขาวมาเกี่ยว


คำแนะนำจากอาจารย์ : วัสดุมันดูโดดจากงานที่เเล้ว(ถึงเเม้วะใช้พวกความโค้ง
ของมันก็ตาม) เเละก็อยากให้งานอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง  เเละอยากให้งานสื่อกลับ
ไปสู่สันกระดูกงูเเบบเเท่ง(เหมือนว่าอยากให้เห็นภาพของกระดูกงูจริงๆ )


ตรวจงานครั้งสุดท้ายวัสดุที่เลือกใช้   : สันกระดูกงู
เทคนิค            : การเกี่ยว การบาก เเละใช้กาว





 การบาก




การเกี่ยว




บรรยาย : เเนวคิดมาจากรูปทรงของใบไม้




คำแนะนำจากอาจารย์ : อ.ได้เเนะนำว่างานยังดูไม่ครอบคลุม ในการเป็น
ที่ว่างสามมิติอีกทั้งการใช้ทั้งเเท่งสันกระดูกงูทำให้งานดูโดดๆ เเละ
กระใช้สีดูลายตา

      งานนี้เป็นการที่ทำค่อนข้างนาน เพราะต้องใช้กาวให้น้อยที่สุด จึงต้อง
ใช้การบากเเทน เเต่ก็ต้องพบอุปสรรคคือพอถึงตรงสูงๆ งานจะพังลงมา
ทันที ;w;  อีกทั้งมันไม่สามารถคงตัวอยู่ได้อีก จึงต้องใช้สันกระดูกงูทั้ง
เเท่งมาดามงานล่ะ =   =





Program 5.2 { Meaning/Open Form/Lighting }

 

   โปรแกรมที่ 5.2 ให้ออกแบบรูปทรงเปิด โดยศึกษาวิเคราะห์จากรูปทรงธรรมชาติและรูปทรงเปิด เพื่อนำไปใช้สอยเป็นโคมไฟ พัฒนาจากงานโปรแกรม 5.1 มาลดทอนรายละเอียด แต่ยังคงสื่อความหมายทั้งด้านนามธรรมและรูปธรรม
สวัสดีค่า...วันนี้เรานำผลงานที่ทำต่อจาก 5.1 มาลงค่ะ :)
เมื่อน้องปักเป้าเป็นโคมไฟ > <

(ตอนเปิดไฟ)

(ตอนไม่เปิดไฟ)

        ยังคงคอนเซปเป็นหกเหลี่ยมเเละมีหนาม เป็นโคมไฟตั้งโต๊ะที่ทำมาจากกระดาษร้อยปอนด์ เเละกระดาษชานอ้อย  โดยจะเจาะช่องหกเหลี่ยมบางช่อง เเละนำบางช่อง ที่เจาะนั้นเอากระดาษไขมาเเปะไว้เพื่อไม่ให้เเสงออกมามากเกินไปค่ะ เเละ ตรงหนามบางหนามจะเจาะ ให้เป็นจังหวะเเบบ 5.1

       งานนี้เราถูกใจในระดับหนึ่ง เเต่หลายๆคนบอกว่ามันเหมือนลูกบอล ไม่ก็ลูกระเบิดล่ะ ;w;

PROGRAM:5.1 Natural from / Meaning & Technique

    รูปทรงธรรมชาติ / ความหมายและเทคนิคการสื่อความหมาย
    (NATURAL FROM / MEANING & TECHNIQUE)



  ให้นิสิตทำความเข้าใจสิ่งมีชีวิต หรือรูปทรงธรรมชาติ 1 ชนิดที่สนใจ แล้วนำมาลดทอนรูป
แบบในส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมด ที่สามารถอ้างอิงคุณสมบัติ หรือเอกลักษณ์สิ่งมีชีวิตนั้นๆ
เพื่อนำไปพัฒนาเป็นผลงาน 3 มิติต่อไป


สิ่งมีชีวิตต้นแบบ : ปลาปักเป้า

ลักษณะทางกายภาพ : ลวดลาย -  มีลายจุดเป็นจังหวะ
               ผิวสัมผัส - ลื่น เเละนิ่ม
               สีสัน  - สีเเหลือง เหลืองน้ำตาล
               ลักษณะเด่น - การพองตัว ลวดลายบนตัว

นิสัย : เมื่อเจอผู้ล่าจะมีลักษณะพองตัวเเละมีหนามเเหลมโดยรอบเพื่อป้องกันตัว

           สวัสดีค่า... ครั่้งนี้เรากลับมาพร้อมกับงานชิ้นใหม่....น้องปักเป้าค่ะ :)
สาเหตุที่เราเลือกปลาปักเป้า คือ....เราชอบมันตอนพองลมมากๆ ดูมีเอกลักษณ์ดี
งานนี้เราต้องลดทอนองค์ประกอบงาน....มาดูผลงานของเราดีกว่าค่
                                                    



     อันนี้มีเเรงบันดาลใจมาจากการพองตัวของปลาปักเป้า โดยเราจะเจาะช่องหกเหลี่ยมให้ เห็นที่ว่างภายใน เพื่อให้เห็นว่าข้างในนั้นมี กล่อง สี่เหลี่ยม เพื่อเเสดงถึง กระเพาะของปักเป้า
     หลักการพองลมของปลาปักเป้าคือมันจะสูบ น้ำ เเละอากาศเข้าไปในตัว เเล้วกระเพาะจะขยาย ตัวปลาจึงพองตัวตามค่า 0o0



  

      อันนี้เราได้ลดรายละเอียดของลวดลายบนตัวปัก จะเห็นว่าลวดลายนั้นเป็นจังหวะค่ะ

    จากการทำงานชิ้นนี้เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับปลาปักเป้ามากขึ้นมากๆ ไม่ว่าเเหล่งที่อยู่
ลักษณะทางกายภาพนอกจากนี้เรายังได้เรียนรู้การลดทอนองค์ประกอบเป็นรูปทรงเรขาคณิตมากขึ้นค่ะ :3


วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2554

PROGRAM:3.2 Color & Modern Art

 
     เพื่อให้นิสิตเข้าใจในเรื่อวทฤษฎีสี การสร้างผลงานศิลปะยุคสมัยต่างๆของศิลปะ
สมัยใหม่ (Modern Art ) โดยใช้เทคนิค IMPRESSIONISM และ CUBISM
และสื่อความหมายเป็นผลงานศิลปะ 2 มิติได้ โดยมีต้นแบบมาจากปฎิบัติการ 2

    จำสถาปนิกต้นเเบบของเราได้มั้ย 555 ...เดี๋ยวเราจะบอกให้นะ


Nicholas   Grimshaw ค่ะ

        เเนวทางศิลปะ  : Cubism
   เเนวความคิด  : การให้รูปทรงหกเหลี่ยมพุ่งออกมา

         เเนวทางศิลปะ : Impressionism
    เเนวความคิด :  นำภาพต้นฉบับมาวาดผสมจินตนาการ

      งานนี้สำหรับเราถือว่าออกมาได้ไม่ดี ทั้งการระบายสี เเละ การจัดองค์ประกอบ อีกที้งเรายังไม่เข้าใจเเนวทางศิลปะ อิมเพรสชั่นนิส เเละ คิวบิสซิ่มซักเท่าไหร่...เเต่ตอนนี้เข้าใจมากขึ้นกว่าเดิมเเล้วค่ะ
   

PROGRAM:3.1 The Meaning of Nature's Colors

สีของสรรพสิ่งในธรรมชาติ THE MEANING OF NATURE'S COLORS

      เพื่อให้นิสิตเข้าใจถึงเรื่อง ทฤษฎีสี เทคนิคน้ำหนักความสว่างของสี(Lightness-color Value)เทคนิคการลดความสดของสี (Saturation-intensity) โดยให้นิสิตออกแบบงานทัศนศิลป์ 2 มิติ เลือกใช้สีตามทฤษฎีโครงสี (Color Scheme) คู่กับเทคนิคน้ำหนักความสว่างของสี (Color Value) หรือเทคนิคการลดความสดของสี (intensity) อย่างใดอย่างหนึ่ง มีลำดับการไล่สี 5 ลำดับเป็นอย่างน้อย



          ภาพนี้มีเเนวความคิดมาจาก ท้องฟ้ายามค่ำคืน เเละเถาวัลย์ เราเลือกใช้ทฤษฎีโครงสีแบบ  Lightness-color value เเละ ทฤษฎีโครงสีเเบบTriadeคือไล่โทนท้องฟ้า เเละ เถาวัลย์ค่ะ 
                

         งานนี้ถือเป็นงานที่ใช้สีครั้งเเเรกเลยล่ะตั้งเเต่อ.ได้สั่งงานมา  ตอนเเรกก็ตื่นเต้นเเละกังวลนิดหน่อย เพราะเราเป็นคนที่ไม่ถูกกับการใช้สีเปียกๆ อย่างรุนเเรง งานจึงออกไม่ดีเท่าที่ควร ก็ต้องค่อยฝึกไป ก็จะพยายามต่อไปค่ะ ..

Program 5.3 { Symbolic Meaning/Three-Dimensional Space/Environment }

 

   โปรแกรมที่ 5.3 ให้ออกแบบที่ว่างสามมิติ จากการทำโมเดลใบงานที่ 5.1 และ 5.2 มาวิเคราะห์ พัฒนารายละเอียด ให้มีลักษณะรูปทรงที่ให้ความรู้สึกถึง ความลื่นไหลมีชีวิตชีวา /การเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง /มีพลวัต หร้อมกำหนดสถานที่หรือสภาพแวดล้อม ภายในพื้นที่โดยรอบคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่คาดว่าจะนำรูปทรงที่สร้างไปติดตั้งได้อย่างเหมาะสมโดยพิจารณาจากประเด็นสำคัญ ดังนี้

1. การศึกษารูปทรงต้นแบบ และการลดทอนรายละเอียดให้มีความเรียบง่าย
2. ขนาดและสัดส่วนที่เหมาะสมของรูปทรงและที่ว่าง
3. ความมั่นคงแข็งแรง และเสถียรภาพของรูปทรงและที่ว่าง
4. เทคนิคการจัดองค์ประกอบของรูปทรงและที่ว่าง
5. การสื่อความหมายเชิงสัญลักษณ์ของรูปทรงและที่ว่าง

งานที่ต้องส่งมีสองชิ้นคือ

1. Sketch Design ลงกระดาษขนาด A3 ด้วยลายเส้นขาว-ดำ
2. หุ่นจำลอง (Model) ปริมาตรวมไม่เกิน 0.30*0.30*0.30 เมตร ประกอบการนำเสนอผลงานด้วยกระดาษสีขาวเท่านั้น


 

      อันนี้เป็นงานสุดท้ายกับน้องปักเป้าเเล้วละ จะว่าไปก็ใจหายนะ
(งานนี้ทำให้หลายๆคนเรียก เราว่าปักเป้าล่ะ ;A;)

 การตรวจเเบบครั้งเเรก


  
การตรวจเเบบครั้งที่สอง




ส่งงาน XD



            บริเวณที่ไว้วางคือหน้าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์(บริเวณที่มีอิฐบล็อก
หกเหลี่ยม)ไว้เป็นที่นั่งรอรถตะไล

  
       งานนี้เกิดจากการนำกระดาษร้อยปอนด์มาตัดเป็นเส้น เส้นละเซนติเมตร
เเล้วนำมาพับเป็นหกเหลี่ยมเป็นขนาดต่างๆ เเล้วนำมาประกอบเป็นรูปทรงที่ได้นำ
เอกลักษณ์เเละลักษณะเด่นของปลาปักเป้ามาใช้ คือการพองลมของมัน 

      งานชิ้นนี้ถือว่าทำได้ตามเเผนการณ์ที่วางไว้  เเละถือว่าทำได้ด้วยดีกว่า
งานเก่าๆ งานนี้สอนให้เรารู้จักคำว่าที่ว่างสามมิติมากขึ้นเเละรู้จักการสร้างงานให้
สัมพันธ์กับสิ่งเเวดล้อมรอบข้าง 

      ต้องขอขอบคุณอ.ประวุฒิ เเละอ.เม่น ที่ให้คำเเนะนำตลอดสามชิ้นงาน
เเละ ขอขอบคุณอ.ทุกท่านที่ให้คำเเนะนำ เเละ เพื่อนทุกๆคนที่ให้คำปรึกษา
อีกทั้งให้ความช่วยเหลือ ขอบคุณมากๆค่ะ :D



PROGRAM:6.2 FINAL PROJECT รูปทรงและที่ว่างแห่งอิริยาบท

 

      โปรแกรมที่ 6.2  ให้นำผลงานจากปฎิบัติการที่ 6.1 มาพัฒนาสร้างเป็นรูปทรง
และที่ว่าง 3 มิติ เพื่อรับรองการใช้งานของมนุษย์ 1 คน ซึ่งสามารถใช้สอยที่ว่าง
ภายในของรูปทรงนั้นได้ด้วยกิริยาท่าทางอย่างน้อย 1 อิริยาบถ โดยจัดทำรูปทรง3มิติ
ตามขนาดวัสดุจริง ย่อขนาดมนุษย์ลงในอัตราส่วน 1:5
    งานนี้เป็นงานที่ต่อจาก 6.1 ที่เรายังไม่สามารถคงรูปงานได้หากไม่ใช้กาว
 เลยลองเป็นการเกี่ยวทั้งหมดเป็นเเพทเทิร์นเเทน เเต่ตรงกลางนี้ยังคงการบากอยู่

งานสุดท้ายเเล้วล่ะสำหรับน้องห่วง...
V
V
V

       อาจาร์ยได้เเนะนำว่า....เรื่องการใช้สีดูลายตาไป เเละชึ้นงานไม่รองรับสรีระมนุษย์
 อีกทั้งหากทำในงานจริง งานอาจจะยวบได้
     
       งานต่อมาเราจึงเปลี่ยนการวางสีเป็นสองส่วงเเทนที่จะผสมกัน
 
เเต่งานมันก็ยังไม่รอรับสรีระอยู่ดี
    

      เราจึงลองกันใหม่ยังคงการเกี่ยวกันเหมือนเดิม เเต่เราได้ค้นพบวิธีใหม่คือ
การเอาห่วงใหญ่เกี่ยว ด้วยห่วงเล็กมันจะเกิดความยืดหยุ่นดัดได้ เเละที่สำคัญ
ที่สุดคอเราไม่ต้องใช้กาว !!! (เย้ !)





อ.เเนะนำว่าบางส่วนนั้นมันเกินความจำเป็นเอาออกได้รึเปล่า 
 เเละก็ยังกังวลกับชิ้นงานจริงว่าจะยวบลงมา


เเละเเล้วก็ถึงไฟนอล  > <

 


  

    สำหรับเรา  งานนี้จบลงได้ดีมากๆ  เราได้เรียนรู้หลายๆอย่าง ได้เรียนรู้คุณสมบัติ
วัสดุอื่นๆที่นอกเหนือกระดาษ (ที่เราทำมาตลอดก่อนหน้างานนี้)  ต้องขอบคุณเน
ที่ร่วมกันฝ่าพันอุปสรรคต่างๆจนงานชิ้นนี้สำเร็จ ขอคุณอ.เม่น อ.ต๋ากับทุกคำ
เเนะนำดีๆ เเละขอบคุณอ.เเละเพื่อนๆ ที่ใหคำเเนะนำเเละคำปรึกษานะคะ :)