วันพุธที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2555

Term 2 :PROGRAME3 - Final Project{ Artist in Residence at koh kret }



  สวัสดีค่ะ   อันนี้เป็นงานชึ้นสุดท้ายของเราเเล้วล่ะค่ะ โดยส่วนตัวเราคิดว่า


งานหนักที่สุดที่เคยเจอมา  ทั้งข้อจำกัดทางด้านกฎหมาย โครงสร้าง 


ขอบเขตงานที่มีขนาดใหญ่ขึ้น รวมถึงจำนวนเพลตที่มีมากขึ้น 


ตอนเเรกที่ได้รับงานยังเเอบท้อเล็กๆเลยว่าจะทำสำเร็จมั้ย 


เเต่พอทำดูจริงๆเเล้ว  เป็นงานที่ทำเเล้วรู้สึกสนุก เเละน่าตื่นเต้นมากๆค่ะ


เเต่ก็ยังพบว่ายังทำไม่สำเร็จตามที่หวังไว้ เเต่ก็เสร็จครบทุกเพลต


ก็ถือว่าโอเคอยู่ค่ะ :D


มาดูโจทย์ของคราวนี้กันค่ะ


 ศิลป์พำนัก รักษ์เกาะเกร็ด พื้นที่สนับสนุนการพำนักในระยะสั้น (3-6 เดือน) 


เพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมของศิลปิน นักสร้างสรรค์และนักวิชาการในด้านต่างๆเช่น 


วิจิตรศิลป์ สถาปัตยกรรม การแสดง ฯลฯ ด้วยขนาดพื้นที่โครงการกว่า 150 ตารางวา 


บนเกาะเกร็ดเปิดเป็นพื้นที่ปฎิสัมพันธ์สำหรับศิลปิน ศิลปะ ความคิดสร้างสรรค์และชุมชน 


ที่ส่งเสริมให้ศิลปินผู้มาพำนักสามารถศึกษา ค้นคว้า ทดลองแนวความคิดในการ


สร้างสรรค์ผลงานด้วยตนเองหรือสามารถพบปะแลกเปลี่ยนแนวคิดกับผู้คนและชุมชน


โดยรอบบน "เกาะเกร็ด" แหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อในฐานะแหล่งชุมชนคนมอญที่มีชื่อเสียง


ในเรื่องของเครื่องปั้นดินเผาและประเพณีวัฒนธรรมแบบพื้นบ้านดั้งเดิมที่ยังคงอนุรักษ์ไว้


ได้เป็นอย่างดีโครงการ  "ศิลป์พำนัก รักษ์เกาะเกร็ด" สามารถรองรับศิลปินได้คราวละ  


1 ท่าน(หรือ 2 ท่าน กรณีศิลปินมาพำนักเป็นคู่เท่าันั้น) ระยะเวลาในการพำนัก


ระหว่าง 3-6 เดือน สิ่งอำนวยความสะดวกที่โครงการต้องจัดเตรียมไว้คือ 


ห้องนอน 1 ห้องพร้อมห้องน้ำ ห้องครัว  สตูดิโอทำงานส่วนตัวของศิลปินและ


ส่วนจัดแสดงผลงานขนาดเล็ก 


โดยศิลปินเป็นผู้ดูแลพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่ที่ทำงานด้วยตัวเอง

   "ศิลป์พำนัก รักษ์เกาะเกร็ด" ได้รับการสนับสนุนและดำเนินการโดยครอบครัว 



"นักรักษ์" ของคุณลุงหมาก (ข้าราชการบำนาญภาคพืชศาสตร์)  ป้าทับทิม  


(ปรมาจารย์ด้านการทำขนมไทยแห่งเกาะเกร็ด) และคุณปูรณ์ บุตรชาย ผู้เป็นเจ้า


ของกิจการเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งชื่นชอบผลงานศิลปะและสนับสนุนการทำงานของ


ศิลปินเรื่อยมา


FINAL PROJECT

   วัตถุประสงค์ -  เืพื่อให้ฝึกทักษะการออกแบบสถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์



สำหรับที่พักอาศัยขนาดเล็กที่เหมาะสมกับประเภทและพฤติกรรมของผู้ใช้อาคาร 


มีความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่ตั้งโครงการ 

   ขั้นตอนการทำงาน


-  วิเคราะห์ข้อมูล พฤติกรรมของผู้ใช้สอยอาคาร เพื่อกำหนดขนาดพื้นที่ใช้สอย



และคุณลักษณของที่ว่างทางสถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์ที่เหมาะสม

 - สำรวจและวิเคราะห์ที่ตั้งโครงการ ความสัมพันธ์กับบริบทสิ่งแวดล้อมโดยรอบ 



และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นข้อมูลและเกณฑ์ในการออกแบบพื้นที่


-  ออกแบบสถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์สำหรับที่พักอาศัยขนาดเล็กที่เหมาะสมกับผู้ใช้ 


ที่ตั้งและสภาพแวดล้อมโดยรอบ ที่มีความสวยงาม สร้างสรรค์  

   รายละเอียด  

ที่ตั้งโครงการ  : ขนาดที่ดินสำหรับสร้างสิ่งปลูกสร้างประมาณ 600 ตารางเมตร



(150 ตารางวา )พื้นที่ใช้สอย   :  ขนาดไม่เกิน 250 ตารางเมตร แบ่งออกเป็น

- พื้นที่ใช้สอยของครอบครัว"นักรักษ์" เช่น


ส่วนนั่งรับแขก         ประมาณ  15   ตารางเมตร


ส่วนครัว-ทำขนม       ประมาณ  15   ตารางเมตร


ส่วนรับประทานอาหาร    ประมาณ  12    ตารางเมตร

ส่วนห้องนอนใหญ่-ห้องน้ำ ประมาณ  25    ตารางเมตร


ส่วนห้องนอนบุตรชาย   
 ประมาณ  20    ตารางเมตร


ส่วนห้องน้ำแขก        ประมาณ    4    ตารางเมตร


ส่วนห้องพระ          ประมาณ   4    ตารางเมตร

-พื้นที่ใช้สอยส่วน " ศิลปินพำนัก" ให้นำเสนอพื้นที่ตามความเหมาะสม

โดยรวบรวมนำเสนอเป็นผลงาน มีองค์ประกอบดังนี้

วิเคราะห์ 


-วิเคราะห์ผู้ใช้โครงการและพื้นที่ใช้สอย


-วิเคราะห์พื้นที่ตั้งโครงการ


-แนวความคิดในการออกแบบ


-แผนภาพ(Diagram) แสดงการวิเคราะห์ต่างๆ

ผลงานออกแบบ


-ผังบริเวณ(แสดงกรจัดพื้นที่โครงการและบริบทโดยรอบ)


-ผังหลังคา


-ผังพื้นทุกชั้นแสดงเฟอร์นิเจอร์


-รูปด้าน 4 ด้าน


-รูปตัดอย่างน้อย 2 รูป


-ทัศนียภาพภายนอกและภายในอย่างละ 1 ภาพ


-หุ่นจำลอง





เพลต







โมเดล











































โปรเจ็คนี้อาจารย์ให้ออกแบบที่พักอาศัยและสถานที่สร้างแรงบันดาลใจ สร้างผลงานศิลปะ


ของศิลปิน บนพื้นที่เกาะเกร็ด ไซท์ที่ได้คือไซท์ที่1 อยู่บริเวณริมแม่น้ำอ้อมเกร็ด มีผู้พัก


อาศัยเจ้าของสถานที่คือป้าทับทิม ผู้เชื่ยวชาญด้านขนมไทย ลุงหมากข้าราชการบำนาญ


พืชศาสตร์ และคุณปูรณ์ เจ้าของกิจการเครื่องปั้นดินเผาค่ะ


คอนเซปของงาน คือ การนำลักษณะดินในบริเวณจังหวัดนนทบุรีคืิอ เป็นดินดอน


สามเหลี่ยมปากเเม่น้ำ เเละมีความอุดมสมบูรณ์มาก ลักษณะทางชีวภาพของดิน


จะไม่ชิดกันหมดจะมีช่องว่าง เลยนำลักษณะช่องว่างเเละการเกาะเกี่ยวของดิน


มาเป็นเเนวคิดในการออกเเบบค่ะ โดยช่องว่างในที่นี้คือสเปซ ในตัวเเปลนของ


เราจะเเบ่งเป็น2เเบบ คือ 1. การยกระดับ 2.การลดระดับ เเบ่งเป็นฟังก์ชัน


ต่างๆคือ ตรงส่วนที่ใกล้ครัวจะปลูกผักส่วนครัว ส่วนใกล้ห้องนอนลุงหมาก 


ไว้ทำสวนลุงหมาก เเละบริเวณริมบ่อบัว ไว้โชว์งานประติมากรรม 

ตัวเเปลนบ้านจะมีสองทางเข้าคือทางเข้าของลูกค้า (ทางเข้าหลัก)เจ้าบ้านเเละศิลปิน


(ทางเข้ารอง) เพื่อให้เเบ่งเเยกอย่างชัดเจน ไม่สะเปะสะปะ โดยทางเดินหลักนั้นจะ


นำไปสู่ห้องจัดเเสดง ห้องน้ำเเขก โซนขายของ ห้องรับเเขก 


ส่วนทางเข้ารองจะเป็นพื้นที่เล่นระดับก่อนจะเเจกด้วยชานบ้านที่จะเเจกไปส่วนของศิลปิน


(ห้องนอน ห้องน้ำ ครัว สตูดิโอศิลปิน) เเละส่วนของลุงหมากป้าทับทิม เเละคุณปูรณ์


โดยตรงกลางของบริเวณชานจะเป็นพื้นที่ยกระดับ ทำให้รู้สึกสำคัญ เเละศรัทธา เป็น


พื้นที่ประดิษฐานของพระพุทธองค์ ถือว่าเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในบ้านค่ะ


งานนี้เราได้เจอข้อติมาก็คือ การวัสดุอิฐมันทำให้บ้านนั้นดูทึบตันเเทนที่จะมีช่องว่าง


เเละก็อ.บอกว่าคอนเซปยังไม่ชัดเจน  ....เเต่ดีตรงที่งานครบค่ะ  ต้องขอขอบคุณ


อ.เอ๋ที่ช่วยเเนะนำตลอดมาค่ะ .....สุดท้ายนี้...... จบปีหนึ่งเเล้วค่าาา...


ไวมากจนน่าตกใจ  พอลองกลับไปดูงานของเทอมที่เเล้ว หรืองานเทอมนี้ชิ้นเเรกๆ


รู้สึกว่าตัวเองนั้นโตขึ้นพอควรเลยล่ะค่ะ  เเบบตอนนี้เราเห็นข้อผิดพลาดของงานเก่าๆ


เเละมีความรู้มากขึ้นเยอะมากๆเลยค่ะ  ต้องขอขอบคุณอ.ทุกท่าน มากๆเลยค่ะ :D






Term 2 :PROGRAME 1 { ต้องรอด }

     สวัสดีค่าา  ไม่ได้เจอกันนานเลย...ตั้งเเต่จบเทอมหนึ่ง เเล้วก็พอน้ำท่วม 


มหาวิทยาลัยก็ปิดยาวเลย..  ตอนนี้ขึ้นเทอมสองเเล้วล่ะค่ะ ความยากของงาน


นั้นมีมากขึ้นมากมายค่ะ  เเละก็เกี่ยวข้องกับการออกเเบบทางสถาปัตยกรรม


มากขึ้น   มาพูดถึงงานนี้ดีกว่าค่ะ เข้ากับสถานการณ์ที่เพิ่งผ่านไปหมาดๆอย่าง


น้ำท่วม  




ต้องรอด โปรแกรมที่ต้องศึกษาถึงสัดส่วนและพฤติกรรมของมนุษย์ ที่ใช้


ในการประกอบกิจกรรมต่างๆในการดำเนินชีวิต เพื่อวิเคราะห์พื้นที่ใช้สอย


ให้สอดคล้องกับการออกแบบอย่างเหมาะสม โดยต้องสรุปกิจกรรมและ


พฤติกรรมในการดำรงชีวิตใน 1 วันของตัวเอง สรุปเป็นพื้นที่ใช้สอย 


ซึ่งพื้นที่รวมนั้น ต้องไม่เกิน 30 ตารางเมตร ในสภาพแวดล้อมซึ่งต้อง


อยู่ในสถานการณ์น้ำท่วม กำหนดระดับความสูงของน้ำวัดจากระดับพื้น


ขึ้นมา 1 เมตร ให้ออกแบบทีี่พักพิงสำหรับตนเอง 


(ใช้โครงสร้างไม้เป็นหลัก) พร้อมเรือ 1 ลำ เพื่อมห้สามารถดำรง


ชีวิตอยู่ท่ามกลางสถานการณ์น้ำท่วมได้ (เป็นระยะเวลา 1 เดือน 


โดยไม่มีน้ำประปาและไฟฟ้าใช้*) 

   โดยนำเสนอผลงานงานออกแบบประกอบด้วย บทวิเคราะห์ 



ผังบริเวณ ผังพื้น รูปด้าน รูปตัด และหุ่นจำลอง


เเนวความคิด  เนื่องจากอยู่ในสภาวะน้ำท่วม ทั้งระบบน้ำเเละไฟฟ้า


จึงไม่มีใช้ เพราะฉะนั้นเราจึงออกเเบบให้ที่พักพิงให้มีลักษณะสูงโปร่ง 


โล่ง สบาย ลมถ่ายเทสะดวก เพื่อให้เข้ากับสภาวะน้ำท่วมนี้ค่ะ


เพลต





















โมเดล










































งานนี้ทำให้เราเรียนรู้อะไรหลายๆอย่างมากๆเลยค่ะ ทั้งการวิเคราะห์ผู้ใช้งานให้


สอดคล้องกับผู้ใช้สอย ระยะการใช้เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ เเละก็สัดส่วนมนุษย์ 


งานนี้ต้องขอขอบคุณอ.มิลค์สำหรับคำเเนะนำดีๆมากๆค่ะ :3